การเมืองอินเดีย เน้น "หาเสียง" จากคนใช้ "อินเตอร์เนต"


พี จินดามพราม รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เข้าอินเตอร์เนทเพื่อตอบคำถามนักเรียน นักวิเคราะห์หรือแม้กระทั่งชาวนา เกี่ยวกับงบประมาณ แสดงให้เห็นถึงความพยายามของเขาที่จะเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เนตรุ่นใหม่ โดยใช้โปรแกรมประชุมวิดิโอ “กูเกิ้ล แฮงเอาท์” ผ่านกูเกิ้ลพลัส

นางกาลา กุเดีย แม่บ้านจากเมืองบังกาลอร์ ทางตอนใต้ของอินเดียถามรัฐมนตรีคลังว่ามีโอกาศที่จะขึ้นภาษีโทรศัพท์มือถือและร้านอาหารหรือไม่ นายจิดามพรามห์กล่าวว่า แม้ว่าภาษีในเรื่องดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น แต่รายได้ของประชาชนก็เพิ่มขึ้นด้วย


โดยเขาได้ร่วมคุยผ่านอินเตอร์เนตราว 1 ชั่วโมง และมีผู้เข้าร่วมสนธนากว่า 38,200 คนในยูทูบในวันเดียวกัน และหลายๆสื่อทีวีในอินเดียยังได้ถ่ายทอดสดการพูดคุยดังกล่าวด้วย

หลายคนยังใช้ทวิตเตอร์ติดแฮชแท็ก #askthefm เพื่อคุยเรื่องนโยบายการคลังของประเทศ โดยหลายคนได้ทวิตมาถามถึงนโยบายต่างๆ

ในปี 2012 เชื่อว่ามีชาวอินเดียใช้อินเตอร์เนตกว่า 150 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่ใกล้เคียงกับผู้นิยมบริโภคสื่อโทรทัศน์ และมีจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊คราว 65 ล้านคน และใช้ทวิตเตอร์ราว 35 ล้านคน โดยแม้จะคิดเป็นเพียงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด แต่อินเดียยังถือเป็นตลาดที่น่าสนใจมากสำหรับสื่อทางอินเตอร์เนท โดยคาดการณ์กันว่าในปี 2020 อินเดียจะมีผู้ใช้อินเตอร์เนทมากกว่าสหรัฐฯ อีกด้วย

และเนื่องจากอินเดียจะจัดการเลือกตั้งทั่วไปในปีหน้า รัฐมนตรีและนักการเมืองหลายๆ คนต่างรู้สึกว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเข้าถึงผู้ช้อินเตอร์เนตซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ให้มากขึ้น โดยนายมานโมอัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีอินเดีย ถูกวิพากษ์วิจารณ์บ่อยครั้ง ว่าเข้าไม่ถึงอินเตอร์เนต ก็ยังเปิดบัญชีผู้ใช้กับทวิตเตอร์เมื่อปีที่แล้ว เพื่อสื่อสารถึงการทำงานของรัฐบาล โดยมีผู้ติดตามมากถึง 470,000 คน

ในปีที่แล้วมีผู้หญิงสองคนถูกจับเนื่องจากคอมเม้นท์ในเฟซบุ๊ค โดยหนึ่งในนั้นวิจารณ์การปิดเมืองมุมไบอย่างกระทันหันหลังการเสียชีวิตของนาย บัล แธคาเรย์ นักการเมือง ทำให้หลายๆ คนที่เข้ามากดไลค์ต่างก็โดยจับไปด้วย แต่ถูกปล่อยตัวหลังจากนั้นที่มีประชาชนออกมาเรียกร้อง

โดยในปี 2011 อินเดียเจตรียมใช้นโยบายที่จะไม่ให้เนื้อหาที่ดูหมิ่นคนอื่น ถูกโพสต์ขึ้นอินเตอร์เนต แต่ทางบริษัทผู้ให้บริการทางอินเตอร์เนตหลายรายกล่าวว่า แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่จะคัดกร่องเนื้อหา และรัฐบาลกำลังหารือถึงวิธีการเซนเซอร์ข้อมูลกับบริษัทต่างๆเหล่านี้อยู่

ด้านนายมานิช ทีวารี รัฐมนตรีด้านข้อมูลข่าวสารของอินเดีย ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นตัวผลักดันการใช้สื่ออินเตอร์เนตอย่างมาก จากการผลงานของหน่วยงานที่เขารับผิดชอบอยู่ โดยรัฐบาลเตรียมจะตั้งหน่วยงานที่เข้ามาดูแลด้านโซเชีลเนทเวิร์ก เพื่อเผยแพร่ข่าวสารของแต่ละกระทรวงและทบวงต่างๆ และให้ผู้ที่ทำงานในหน่วยงานรับผิดชอบเรื่องออนไลน์จะต้องใช้ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊คด้วย

อย่างไรก็ตามคนที่มีผู้ติดตามมากที่สุดในหมู่นักการเมืองอินเดียได้แก่นาย ชาชิ ทาร์อูร์ มีผู้ติดตามถึง 1,600,000 คนและเคยมีปัญหาจากการทวีทหลัยครั้งในปี 2009

และแม้ว่ารัฐบาลอินเดียจะเพิ่มริ่มตระหนักถึงโซเชี่ยลเนทเวิร์ก แต่นายบาราติยา จันทนา จากฝ่ายค้านได้เริ่มใช้โซเชี่ยลมีเดียมาสักพักแล้ว

ในการเลือกตั้วทั่วไปในปี 2009 รัฐบาลได้จัดตั้งวอร์รูมแบบดิจิตัล และจ้างอาสาสมัครจำนวนหนึ่งให้เข้ามาดูแลระบบที่เมืองเดลี และมีผู้ดูแลระบบออนไลน์กว่า 6,000 คน และส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 35 และมีอายุน้อย ใช้เวลาว่างจากการทำงานมาทำงานอาสาสมัคร และทำหน้าที่ตรวจสอบ เผยแพร่ และวางแผนว่ารัฐบาลควรจะบอกอะไรกับประชาชน

โดยในการเลือกตั้งระดับรัฐที่ผ่านมา นายนาเรนดา โมดิ ได้ใช้เทคโนโลยี 3 มิติเพื่อเข้าถึงกลุ่มคนดูได้มากขึ้น โดยพูดผ่านวิทยุ และแสดงภาพการแข่งขันการเลือกตั้งของเขา และแสดงให้เห็นถึงโลกที่สามารถมองเห็นได้ เพื่อเข้าถึงคน ทั้งๆที่ไม่ได้อยู่ตรงนั้นจริงๆ

ด้านนายมาเฮช เมอร์ตี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลนี และผู้ก่อจตั้ง “พินสตอร์ม” กล่าวว่า นักการเมืองเริ่มตระหนักถึงความสำคัญถึงผู้รับข่าวสารทางอินเตอร์เนทแล้ว ซึ่งทำให้สัดส่วนการใช้สื่ออื่นลดลง ดังนั้นการเลือกตั้งให้คราวหน้า จะเป็นการแข่งขันในการ วางแผนการใช้สื่ออย่างไร มากกว่าแข่งกันเรื่องการเมืองจริงๆ

โดยพิว รีเสิร์ช (Pew Redsearch) ระบุว่า ร้อยละ 45 ของชาวอินเดียที่ใช้อินเตอร์เนตจะชอบเข้ามาคุยเรื่องการเมือง

แม้บทลงโทษการทำผิดในอินเตอร์เนตจะยังมีน้อย แต่จำนวนคนที่เพิ่มมากขึ้นนั้น แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการเข้าถึงผู้คนในวัยรุ่น ซึ่งบางคนมาเลือกตั้งครั้งแรก จากสิ่งที่พวกเขารู้จากอินเตอร์เนต โดยในการเลือกตั้งทั่วไปปีหน้า ไม่สามารถละเลยการสร้างฐานเสียงจากคนกลุ่มนี้ได้เลย

ที่มา: http://www.matichon.co.th/


No comments:

Post a Comment