รัฐต่างๆ ในอินเดีย (States of India)


ประเทศอินเดีย หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ มีพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าไทยถึงหกเท่า มีอาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดพม่า ทางตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกติดบังกลาเทศ

อินเดียมีการปกครองในระบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ และมีนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่มีอำนาจในการบริหารอย่างแท้จริง บริหารโดยกระจายอำนาจการปกครองในลักษณะสหพันธรัฐ (Federal System) ออกเป็นรัฐต่างๆ 28 รัฐ โดยรัฐใหม่ 3 รัฐ ที่เพิ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นในเดือนมกราคม 2544 ก็คือ รัฐฉัตตีสครห์ (Chattisgarh) รัฐอุตตะรันจัล (Uttaranchal) และรัฐฉรขันท์ (Jharkhand) ซึ่งแยกออกจากรัฐมัธยประเทศ อุตตระประเทศ และรัฐพิหาร ตามลำดับ และยังมีดินแดนสหภาพ หรือสหภาพอาณาเขตของรัฐบาลกลาง (Union Territories) อีก 7 เขต ดังนี้

รัฐต่างๆ ของอินเดีย

1. อานธรประเทศ (Andhra Pradesh)
2. อรุณาจัลประเทศ (Arunachal Pradesh)
3. อัสสัม (Assam)
4. พิหาร (Bihar)
5. ฉัตติสครห์ (Chhattisgarh)
6. กัว (Goa)
7. คุชราต (Gujarat)
8. หรยาณา (Haryana)
9. หิมาจัลประเทศ (Himachal Pradesh)
10. ชัมมูและกัศมีร์ (Jammu and Kashmir)
11. ฌาร์ขัณฑ์ (Jharkhand)
12. กรณาฏกะ (Karnataka)
13. เกรละ (Kerala)
14. มัธยประเทศ (Madhya Pradesh)
15. มหาราษฏระ (Maharashtra)
16. มณีปุระ(Manipur)
17. เมฆาลัย (Meghalaya)
18. มิโซรัม (Mizoram)
19. นาคาแลนด์ (Nagaland)
20. โอริสสา (Orissa)
21. ปัญจาบ (Punjab)
22. ราชสถาน (Rajasthan)
23. สิกขิม (Sikkim)
24. ทมิฬนาฑู (Tamil Nadu)
25. ตริปุระ (Tripura)
26. อุตตรประเทศ (Uttar Pradesh)
27. อุตตราขัณฑ์ (Uttarakhand)
28. เบงกอลตะวันตก (West Bengal)

ดินแดนสหภาพ


A. หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (Andaman and Nicobar Islands)
B. จัณฑีครห์ (Chandigarh)
C. ดาดราและนครหเวลี (Dadra and Nagar Haveli) 
D. ดามันและดีอู (Daman and Diu) 
E. ลักษทวีป (Lakshadweep)
F. เดลี (Delhi)
G. พอนดิเชอร์รี (Puducherry)
ตามรัฐธรรมนูญอินเดียได้แบ่งแยกอำนาจระหว่างรัฐบาลกลาง (Government of India) และรัฐบาลมลรัฐ (State Government) อย่างชัดเจน โดยรัฐบาลกลางดำเนินการเรื่องการป้องกันประเทศด้านนโยบายต่างประเทศ การรถไฟ การบิน และการคมนาคมอื่นๆ ด้านการเงิน ด้านกฎหมายอาญา ฯลฯ ส่วนรัฐบาลมลรัฐมีอำนาจในการรักษาความสงบเรียบร้อยและรักษากฎหมาย การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของมลรัฐ ซึ่งจะทยอยนำเสนอรายละเอียดของแต่ละรัฐต่อไป

ขอบคุณข้อมูลจาก



ขอบคุณภาพจาก

No comments:

Post a Comment