ประเทศอินเดียมีภาษาพูดที่แตกต่างกันมากมาย ในกลุ่มคนต่าง ๆ กัน มีภาษาอย่างน้อย 30 ภาษา รวมถึงภาษาย่อยอีก 2,000 ภาษาด้วย รัฐธรรมนูญอินเดียได้กำหนดให้ภาษาฮินดีและภาษาอังกฤษ เป็นสองภาษาที่ใช้ในการติดต่อกับรัฐบาลกลาง นอกจากนี้ยังได้กำหนดภาษาอื่น 22 ภาษาเป็น ภาษากำหนด (scheduled languages) ซึ่งเป็นภาษาที่รัฐต่าง ๆ สามารถนำไปใช้สำหรับการปกครองได้ รวมถึงเป็นตัวกลางในการติดต่อระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐบาลรัฐ รวมถึงข้อสอบสำหรับการบรรจุข้าราชการ
ตามที่ร่างไว้ ได้มีการยกเลิกฐานะของภาษาอังกฤษเป็น ภาษาราชการ (เทียบเท่ากับภาษาฮินดี) ในพ.ศ. 2508 ซึ่งหลังจากนั้น มีเจตนาให้ภาษาอังกฤษเป็น "ภาษาราชการเพิ่มเติม" (associate additional official language) ต่อไป จนกว่าจะมีคณะกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งตัดสินใจให้เปลี่ยนเป็นภาษาฮินดี ตามการทบทวนตามระยะเวลาปกติ อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีคำคัดค้านจากรัฐต่าง ๆ เช่น ทมิฬนาดู ซึ่งมีการเข้าถึงของภาษาฮินดีน้อยมาก จึงยังคงนิยมใช้ระบบ 2 ภาษา เนื่องจากมีอุตสาหกรรมเพิ่มเติมอย่างรวดเร็ว และอิทธิพลทางเศรษฐกิจโลกมากมาย ภาษาอังกฤษจึงยังคงนิยมใช้ในการติดต่อกันในรัฐบาลและชีวิตประจำวัน และแผนที่จะทดแทนภาษาอังกฤษได้มีการยกเลิกไปโดยปริยาย
ภาษาราชการของอินเดีย
ภาษาฮินดี
ภาษาอังกฤษ (ภาษาราชการเพิ่มเติม)
ภาษาราชการอื่น ๆ ของอินเดีย
ภาษากอนกานี (Konkani, ภาษาราชการของกัว)
ภาษากันนาดา (Kannada, ภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ)
ภาษาคุชราต (Gujarati, ภาษาราชการของดาดราและนครหเวลี ดามันและดีอู และคุชราต)
ภาษาแคชเมียร์ (Kashmiri)
ภาษาโดกรี (Dogri, ภาษาราชการของรัฐชัมมูและกัษมีระ)
ภาษาเตลูกู (Telugu, ภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ)
ภาษาทมิฬ (Tamil, ภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑูและพอนดิเชอร์รี)
ภาษาเนปาลี (Nepali, ภาษาราชการของรัฐสิกขิม)
ภาษาเบงกาลี (Bengali ภาษาราชการของรัฐตรีปุระและรัฐเบงกอลตะวันตก)
ภาษาโบโด (Bodo, ภาษาราชการของรัฐอัสสัม)
ภาษาปัญจาบ (Punjabi, ภาษาราชการของ รัฐปัญจาบ)
ภาษามราฐี (Marathi, ภาษาราชการของรัฐมหาราษฏระ)
ภาษามาลายาลัม (Malayalam, ภาษาราชการของรัฐเกรละและลักษทวีป)
ภาษามณีปุริ (ภาษาเมเธ) (Manipuri, Meithei, ภาษาราชการของรัฐมณีปุระ)
ภาษาไมถิลี (Maithili, ภาษาราชการของรัฐพิหาร)
ภาษาสันตาลี (Santali)
ภาษาสันสกฤต (Sanskrit)
ภาษาสินธี (Sindhi)
ภาษาอัสสัม (Assamese, ภาษาราชการของรัฐอัสสัม)
ภาษาอูรดู (Urdu, ภาษาราชการของรัฐชัมมูและกัษมีระ)
ภาษาโอริยา (Oriya, ภาษาราชการของรัฐโอริสสา)
ภาษาฮินดี (Hindi, ภาษาราชการของหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ รัฐพิหาร รัฐฉัตติสครห์ กรุงเดลี รัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ รัฐฌาร์ขันท์ รัฐมัธยประเทศ รัฐราชสถาน รัฐอุตตรประเทศ และรัฐอุตตรขันท์)
ภาษาคุชราต (Gujarati, ภาษาราชการของดาดราและนครหเวลี ดามันและดีอู และคุชราต)
ภาษาแคชเมียร์ (Kashmiri)
ภาษาโดกรี (Dogri, ภาษาราชการของรัฐชัมมูและกัษมีระ)
ภาษาเตลูกู (Telugu, ภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ)
ภาษาทมิฬ (Tamil, ภาษาราชการของรัฐทมิฬนาฑูและพอนดิเชอร์รี)
ภาษาเนปาลี (Nepali, ภาษาราชการของรัฐสิกขิม)
ภาษาเบงกาลี (Bengali ภาษาราชการของรัฐตรีปุระและรัฐเบงกอลตะวันตก)
ภาษาโบโด (Bodo, ภาษาราชการของรัฐอัสสัม)
ภาษาปัญจาบ (Punjabi, ภาษาราชการของ รัฐปัญจาบ)
ภาษามราฐี (Marathi, ภาษาราชการของรัฐมหาราษฏระ)
ภาษามาลายาลัม (Malayalam, ภาษาราชการของรัฐเกรละและลักษทวีป)
ภาษามณีปุริ (ภาษาเมเธ) (Manipuri, Meithei, ภาษาราชการของรัฐมณีปุระ)
ภาษาไมถิลี (Maithili, ภาษาราชการของรัฐพิหาร)
ภาษาสันตาลี (Santali)
ภาษาสันสกฤต (Sanskrit)
ภาษาสินธี (Sindhi)
ภาษาอัสสัม (Assamese, ภาษาราชการของรัฐอัสสัม)
ภาษาอูรดู (Urdu, ภาษาราชการของรัฐชัมมูและกัษมีระ)
ภาษาโอริยา (Oriya, ภาษาราชการของรัฐโอริสสา)
ภาษาฮินดี (Hindi, ภาษาราชการของหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ รัฐพิหาร รัฐฉัตติสครห์ กรุงเดลี รัฐหรยาณา รัฐหิมาจัลประเทศ รัฐฌาร์ขันท์ รัฐมัธยประเทศ รัฐราชสถาน รัฐอุตตรประเทศ และรัฐอุตตรขันท์)
ภาษาอื่น ๆ ที่นิยมพูดในอินเดีย
(มีคนพูดมากกว่า 5 ล้านคน แต่ไม่มีฐานะทางราชการ)
ภาษาโคนที (Gondi, ชนเผ่ากอนด์ Gond)
ภาษากาเนาจี (Kanauji, ภาษาของรัฐอุตตรประเทศ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาคุตชี (Kutchi, ภาษาของคุตช์)
ภาษาฉัตติสครห์ (Chhattisgarhi, ภาษาของรัฐฉัตติสครห์ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาตูลู (Tulu, พูดโดยชาวตูเล Tule ของรัฐกรณาฏกะและรัฐเกรละ)
ภาษาบุนเดลี (Bundeli, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาโภชปุรี (Bhojpuri, ภาษาของพิหาร มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาภิล (Bhili, ชนเผ่าภิล Bhil)
ภาษามคธี (Magadhi, หรือ ภาษามคธ ภาษาของรัฐพิหารตอนใต้ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษามาร์วารี (Marwari, ภาษาของรัฐราชสถาน มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาหริยนวี (Haryanvi, ภาษาของรัฐหรยาณา มักถือว่าประเภทย่อยของ ภาษาฮินดี)
ภาษาอวาธี (Awadhi, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาฮินดูสตานี (Hindustani, การผสมระหว่างภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ส่วนใหญ่พูดในตอนเหนือของอินเดีย)
ภาษากาเนาจี (Kanauji, ภาษาของรัฐอุตตรประเทศ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาคุตชี (Kutchi, ภาษาของคุตช์)
ภาษาฉัตติสครห์ (Chhattisgarhi, ภาษาของรัฐฉัตติสครห์ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาตูลู (Tulu, พูดโดยชาวตูเล Tule ของรัฐกรณาฏกะและรัฐเกรละ)
ภาษาบุนเดลี (Bundeli, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาโภชปุรี (Bhojpuri, ภาษาของพิหาร มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาภิล (Bhili, ชนเผ่าภิล Bhil)
ภาษามคธี (Magadhi, หรือ ภาษามคธ ภาษาของรัฐพิหารตอนใต้ มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษามาร์วารี (Marwari, ภาษาของรัฐราชสถาน มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาหริยนวี (Haryanvi, ภาษาของรัฐหรยาณา มักถือว่าประเภทย่อยของ ภาษาฮินดี)
ภาษาอวาธี (Awadhi, มักถือว่าประเภทย่อยของภาษาฮินดี)
ภาษาฮินดูสตานี (Hindustani, การผสมระหว่างภาษาฮินดีและภาษาอูรดู ส่วนใหญ่พูดในตอนเหนือของอินเดีย)
............
ที่มาข้อมูล : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
No comments:
Post a Comment