ปัลกี (Palkhi) เทศกาลประจำปีของรัฐมหาราษฎร์


2009-palkhi-013ปัลกี (Palkhi) เป็นชื่อเรียกในท้องถิ่น หมายถึง ขบวนแห่เกี้ยวเงินอันงดงาม ภายในเกี้ยวประดิษฐานรอยเท้าทำด้วยเงิน หรือ paduka ของ Tukaram และ Dnyaneshwar ซึ่งดำเนินการโดย พวก "warkaris" หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติตามแนวทางของ "wari" อันแสดงถึงวัฒนธรรมอันโดดเด่นของรัฐมหาราษฎร์ เทศกาลปัลกี (Palkhi Festival) นี้จัดขึ้นประจำทุกปีในเดือน Ashadh (มิุถุนายน-กรกฎาคม) และเดือน Karthik (เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม) ซึ่งใช้เวลาเฉลิมฉลองทั้งหมดรวม 22 วัน ที่พิเศษอย่างยิ่งคือ เทศกาลนี้มีขึ้นเฉพาะแต่ในรัฐมหาราษฎร์เท่านั้น และดำเนินต่อเนื่องยาวนานไม่ขาดตอนกว่า 1000 ปี ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นในวันที่ 16 มิถุนายน ที่ผ่านมานี้
2009-palkhi-012ความเป็นมาของเทศกาลปัลกี เริ่มขึ้นในปี 1685 โดย Narayan baba ซึ่งเป็นบุตรชายคนสุดท้องของ Tukaram  ตัดสินใจที่จะทำการเปลี่ยนแปลงธรรมเนียมประเพณีของชาว dindi-wari โดยการริเริ่ม ปัลกีขึ้น เป็นสัญญาณของการเคารพทางสังคม เขาได้นำรอยเท้าที่ทำด้วยเงิน (silver padukas) ของ Tukaram และรอยเท้าเงินของ Dnyaneshwar มาประดิษฐานไว้ในปัลกีร่วมกัน หรือที่เรียกว่า ประเพณีปัลกีคู่ (twin Palkhis) ประเพณีดังกล่าวนี้ดำเนินไปทุกปี แต่ในปี 1830 มีกรณีพิพาทภายในตระกูล Tukaram ทำให้มีการยกเลิกประเพณีปัลกีคู่ และจัดแยกเป็น 2 ปัลกี ได้แก่  Tukaram Palkhi จากหมู่บ้าน Dehu และ Dnyaneshwar Palkhi จากหมู่บ้าน Alandi

2009-palkhi-014ความต่อเนื่องยาวนานตามกาลเวลาของประเพณีเก่าแก่นี้แผ่ขยายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง จำนวนรวมของผู้ศรัทธาที่ดำเนินรอยตาม Sant Tukaram Palkhi จากหมู่บ้าน Dehu มีจำนวนถึง 1.5 แสนคน และผู้ศรัทธาที่ดำเนินรอยตาม Sant Dnyaneshwar Palkhi มีจำนวนถึง 2.25 แสนคน ปัลกีจากทั้งสองหมู่บ้านได้มาพบกันที่เมืองปูเณ่ และหยุดพักร่วมกันชั่วคราว และจากนั้นก็แยกจากกันที่ Hadapsar เพื่อไปพบกันอีกทีที่ Wakhri หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้เมือง Pandharpur ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของขบวนพิธีนั้นเอง

2009-palkhi-015ผู้แสวงบุญวาร์คาริสนับแสนที่มาร่วมชุมนุมกัน ส่วนใหญ่มาจากชุมชนชาวนาในชนบท วาริ (wari) เป็นสัญลักษณ์ของศรัทธาในพระเจ้าที่ไม่สั่นคลอน เนื่องมาจากการต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก และความปรารถนาที่จะพ้นบาป แม้ว่าพวกเขาเหล่านี้จะมีชีวิตที่ยากจนขัดสน แต่เต็มตื้นไปด้วยจิตวิญญาณและศรัทธาอันยิ่งใหญ่ในพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งทำให้พวกเขาแข็งแกร่งและทนทานกับความยากลำบากในชีวิตได้ ดังนั้นผู้คนจำนวนมากในรัฐมหาราษฎร์ จึงพร้อมใจเดินทางมาร่วมกัน โดยการเดินเท้าไปยังเมืองศักดิ์สิทธิ์ ปัลดาปุระ (Pandharpur) การเดินทางอันยากลำบากในช่วงฤดูฝน อาจนับได้ว่าเป็นการทดสอบความทนทานของร่างกายและจิตใจที่มั่นคงในศาสนาของพวกเขา

ผู้ศรัทธาที่เข้าร่วมในพิธี ถ้าเป็นชายจะแต่งกายด้วยชุดขาว แต่หญิงใส่ชุดสาลีสีสันสวยงามแบกเครื่องสักการะหรือสัมภาระต่างๆไว้บนศีรษะ เดินเท้าไปตามทางถนนใหญ่ บ้างที่มากันเป็นกลุ่มมักมีธงสีแสดอันเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลนี้นำหน้าขบวน บ้างแบกหม้อทองเหลืองที่มีหน่ออ่อนของต้นไม้ Tulsi ร่วมในขบวนด้วย ผู้ร่วมขบวนต่างร้องเพลง เต้นรำ ท่องบทสวด ผสมผสานกับจังหวะดนตรี อันมีฉิ่งฉาบ และกลองเป็นหลัก แห่แหนไปตามถนนใหญ่ เป็นการสร้างสีสัน ความครึกครื้น และจุดสนใจได้เป็นอย่างดี ระหว่างทาง พวกเขาจะแวะพักเหนื่อย หรือทำอาหารกินเองชั่วคราวตามรายทาง และพักค้่างแรมที่วัด หรือพักแรมในที่ต่างๆ ระหว่างทาง ก่อนเดินทางต่อไปจนถึงจุดหมายปลายทางดังกล่าว

เทศกาลนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องทุกปี แสดงให้เห็นชัดถึง ความเด็ดเดี่ยวมั่นคงในทางจิตวิญญาณและในทางศาสนาของวาร์คาริส เราชาวต่างชาติก็อดออกมาดูและชื่นชมในศรัทธาของผู้แสวงบุญนับแสนที่เดินผ่านไปมาอย่างไม่ขาดสายไม่ได้

โดย  poowiang

2009-palkhi-007
ผูแสวงบุญชายแต่งกายในชุดขาวตามแบบรัฐมหาราษฎร์
2009-palkhi-001
ผู้หญิงสวมส่าหรีสีสรรหลากหลายพร้อมแบกสัมภาระต่างๆไว้บนศีรษะ
2009-palkhi-004
ผู้ศรัทธานับแสนเดินเท้าไปตามถนนหลวงในเมืองปูเณ่
2009-palkhi-006
มีบุรุษขี่ม้าขาวนำหน้าขบวน พร้อมธงสัญลักษณ์ของเทศกาล
2009-palkhi-010
ขบวนแห่เกี้ยวเงิน
2009-palkhi-009
เกี้ยวเงินประดับประดาด้วยดอกไม้นานาชนิดสวยงามภายในประดิษฐานรอยเท้าเงินของ Tukaram และ Dnyaneshwar
2009-palkhi-008
ผู้แสวงบุญวาร์คาริสนับแสนที่มาร่วมในขบวนแห่
2009-palkhi-011
ผู้ศรัทธาบางคนตกแต่งประดับประดาร่างกายอย่างงดงาม
2009-palkhi-003
แวะพักเหนื่อย และทำอาหารรับประทานระหว่างทาง

No comments:

Post a Comment