ตราแผ่นดินของอินเดีย


india-emblem01ตราแผ่นดินหรือ ตราสัญลักษณ์ประจำชาติของอินเดีย (National Emblem) ดัดแปลงมาจากประติมากรรมหัวเสาของพระเจ้าอโศกมหาราช ที่สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 234 เป็นรูปสิงโตสี่ตัวหันหลังชนกันอยู่บนยอดเสา ซึ่งค้นพบที่เมืองสารนาถ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์เมืองสารนาท รัฐบาลอินเดียได้นำมาประยุกต์ใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของประเทศเมื่อวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1950 (พ.ศ. 2493) ซึ่งเป็นวันสำคัญที่อินเดียกลายเป็น "สาธารณรัฐ" วันนั้นจึงกำหนดให้เป็น "วันชาติของอินเดีย" ด้วย




รูปสิงโตสี่ตัว ประดิษฐานอยู่บนยอดเสา ส่วนหลังชนกัน ต่ำลงมาเป็นแผ่นภาพรูปนูนสูงเป็นรูปช้าง ม้า วัว และสิงโต โดยมีรูปธรรมจักรคั่น ถัดลงไปจึงเป็นรูปบัวคว่ำ ทั้งหมดแกะสลักขึ้นจากหินทรายก้อนเดียว และขัดถูจนผิวมันวาว ในยุคนั้นพระเจ้าอโศกโปรดให้สร้างขึ้น เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระพุทธเจ้าแต่ละส่วนของหัวเสามีความหมายแทนคำสั่งสอนของพระองค์

แต่ตราสัญลักษณ์ที่ดัดแปลงมานั้นจะปรากฏภาพสิงโตที่มองเห็นได้เพียงสามตัว ตัวที่สี่ถูกบังไว้ รูปธรรมจักรเต็มรูปปรากฏอยู่กึ่งกลางภาพ มีภาพวัวอยู่ด้านขวามือ และภาพม้าอยู่ด้านซ้ายมือ และปลายสุดของทั้งด้านซ้ายและขวามองเห็นธรรมจักรที่เป็นรูปด้านข้างอยู่ทั้งสองข้าง ส่วนรูปบัวคว่ำด้านล่างถูกตัดทอนออกไป แต่ใส่ข้อความไว้ใต้หัวเสา เป็นภาษาสันสกฤต ที่เขียนด้วยอักษรเทวนาครี ว่า "เพียงสัจจะ ชนะได้" (Truth alone triumphs.)

โดย  poowiang

india-emblem02

No comments:

Post a Comment