ทราบหรือไม่ – ทำไมอินเดียถอนตัวจากการแข่งขันฟุตบอลโลกปี ค.ศ. 1950?



ในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ. 1950 ที่ประเทศบราซิลเป็นเจ้าภาพ มีความสำคัญและน่าสนใจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นสถิติการเข้าชมฟุตบอลต่อหนึ่งนัดที่สูงสุดเกือบสองแสนคน อีกทั้งประธานสหพันธ์ฟุตบอลโลก (FIFA) ถึงกับต้องเก็บถ้วยแชมป์ฟุตบอลโลกไว้ในกล่องรองเท้าใต้เตียงนอน เพราะกลัวสูญหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง จนเหลือรอดและนำมาใช้เป็นถ้วยรางวัลในการแข่งขันเวิล์ดคัพครั้งนั้น



แต่ก็มีความวุ่นวายต่างๆ และความไม่ีลงตัวในระบบการแข่งขัน ทำให้ทีมชาติหลายประเทศต้องถอนตัวออกไป รวมทั้งทีมชาติของอินเดียด้วย แม้จะผ่านการคัดเลือกเข้ามาแล้ว แต่อินเดียประเทศที่เพิ่งได้รับเอกราชใหม่ๆ ในช่วงนั้น และเป็นครั้งแรกที่อินเดียในฐานะตัวแทนจากเอเชียร่วมกับ พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ได้รับเิชิญจาก FIFA ให้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลกปี ค.ศ. 1950 ก็ต้องถอนตัวจากออกจากการแข่งขันไป พร้อมกับทีมชาติของสก็อตแลนด์ และตุรกี ทำให้เหลือชาติที่เข้าแข่งขันในรอบสุดท้ายเพียงแค่ 13 ทีมเท่านั้น

เหตุผลที่เรารับทราบกันก็คือ กฏของ FIFA ที่บังคับให้ผู้เล่นต้องสวมรองเท้าที่เหมาะสมในการเล่น แต่ นักฟุตบอลทีมชาติอินเดียในขณะนั้นไม่สวมรองเท้าเวลาเล่น จึงไม่ได้รับอนุญาตให้ลงเล่นในการแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งตามข้อเท็จจริงแล้วนักฟุตบอลอินเดียในยุคนั้นคุ้นเคยกับการเล่นบอลเท้าเปล่ามานาน และก็ได้ชัยชนะเหรียญทองในการแข่งขันฟุตบอล เอเชียนเกมส์ ปี ค.ศ. 1951 แม้แต่ในกีฬาโอลิมปิก ปี ค.ศ. 1952 อินเดียก็ยังเล่นบอลโดยเท้าเปล่า จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1956 นักฟุตบอลอินเดียถึงได้สวมรองเท้าเล่นบอลเป็นครั้งแรก ในการแข่งขันโอลิมปิกส์ที่กรุงเมลเบิร์น

จะว่าเป็นเพราะเหตุถูกห้ามไม่ให้เล่นบอลเท้าเปล่าทำให้อินเดียถอนตัวจากการแข่งขันในปี ค.ศ. 1950 ก็ดูจะไม่ค่อยยุติธรรมนัก เพราะมีอีกหลายเหตุผลเบื้องหลังที่ไม่่ค่อยได้เอ่ยถึง นั่นคือ สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งชาติอินเีดีย (AIFF) ในขณะนั้นยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของกีฬาฟุตบอลในระดับโลก จึงไม่ได้ให้การส่งเสริมสนับสนุน ประกอบกับปัญหาทางการเงิน และระยะเวลาที่ไม่พอเพียงสำหรับการฝึกซ้อมในช่วงนั้น จึงทำให้อินเดียยกเลิกไม่เข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าว

น่าเสียดายที่อินเดียอุตส่าห์ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมการแข่งขันบอลโลกเป็นครั้งแรก แต่กลับไม่ได้แข่งขันเสียอย่างนั้น มิฉะนั้นแล้วกีฬาฟุตบอลในอินเดียคงเป็นที่นิยมแพร่หลายไม่แพ้คริกเก็ตในปัจจุบันเป็นแน่

Information courtesy:
http://en.wikipedia.org/wiki/1950_FIFA_World_Cup_qualification

Picture courtesy:
http://www.mohunbaganclub.com/abahomanMB.html


1911 IFA SHIELD WINNING TEAM

No comments:

Post a Comment