ระบบดาวรี (Dowry System) ในอินเดีย


ดาวรี (Dowry) หมายถึง เงิน สิ่งของ หรือที่ดินที่ฝ่ายหญิงนำติดตัวมาด้วยเพื่อมาแต่งงาน ไม่เหมือนกับเงินสินสอดที่จ่ายให้กับฝ่ายพ่อแม่เจ้าสาวอย่างในบ้านเรา ดาวรีนับว่าเป็นเป็นระบบเก่าแก่โบราณที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันในสังคมอินเดีย

“เกียรติยศสังหาร” เพื่อเกียรติของใคร


โดย ติฟาฮา มุกตาร์

การแต่งงานในสังคมอินเดียกางกั้นด้วยม่านประเพณีอันทึบหนาดังม่านเหล็ก ขณะที่ข้อดีเสียระหว่างการแต่งแบบจับคู่โดยพ่อแม่ (Arranged Marriage) และแบบชอบพอกันเอง (Love Marriage) ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันได้ถึงศตวรรษหน้า ทั้งพอเข้าใจได้ว่าสังคมที่ยังยึดโยงอยู่กับจารีตประเพณีโดยเฉพาะเรื่องตระกูลและวรรณะอย่างอินเดีย คนทั่วไปย่อมถือว่าการแต่งแบบจับคู่เป็นเรื่องดีงามกว่า แต่ใครจะคาดคิดว่าในศตวรรษที่ 21 เช่นนี้ การขัดต่อจารีตหรือฝ่าม่านประเพณีจะนำไปสู่การฆ่าในนามของเกียรติยศ

พิพิธภัณฑ์ ราช ดินาการ์ เกลการ์ (Raj Dinakar Kelkar Museum)


ปูเณ่เป็นเมืองใหญ่ โดยเฉพาะเป็นเมืองสำหรับการศึกษา นอกเหนือจากการเรียนรู้ในชั้นเรียนแล้ว แหล่งความรู้ต่างๆ สำหรับการเรียนรู้เพิ่มเติมนอกห้องเรียนก็มีมากไม่แพ้กัน เช่น พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น ในเมืองปูเณ่มีพิพิธภัณฑ์มากมายกระจายอยู่ทั่วไป ทั้งในสถาบันการศึกษาและพิพิธภัณฑ์เอกชน